ศาลตัดสิน จำคุกลุงพล 2 เดือน ปรับ 1 หมื่น ลดโทษกึ่งหนึ่ง รอลงอาญา

ศาลตัดสิน จำคุกลุงพล 2 เดือน ปรับ 1 หมื่น ลดโทษกึ่งหนึ่ง รอลงอาญา

ศาลตัดสิน จำคุกลุงพล เป็นระยะเวลา 2 เดือน ปรับ หมื่น จากกรณีทำร้ายนักข่าวอมรินทร์ สั่งลดโทษกึ่งหนึ่ง รอลงอาญา ศาลจังหวัดมุกดาหาร ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีที่พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายไชย์พล วิภา จำเลย หรือ ลุงพล ในข้อหา ความผิดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้าย ฯ

จากกรณี ลุงพล แย่งไมค์ผู้สื่อข่าวจากช่อง อมรินทร์ทีวี 

หลังจากที่ผู้สื่อข่าวได้ตั้งคำถาม และทำให้ลุงพลไม่พอใจ ก่อนโผเข้าใส่ก่อนทุบหลัง 2 ครั้ง พร้อมกับผลักไหล่ ก่อนจะพยายามบีบคอและกระชากหน้ากากอนามัยออก ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อ.) มาตรา 309 วรรคแรก, 391 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษในความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดโดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุก 2 เดือน ปรับ 10,000 บาท

จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 เดือน และปรับ 5,000 บาท พิเคราะห์ผลการชันสูตรบาดแผลผู้เสียหายแล้วไม่ปรากฏอันตรายร้ายแรง และจำเลยได้ลุแก่โทษโดยนำเงินค่าเสียหายมาวางศาล จึงให้โอกาสแก่จำเลยโดยรอการลงโทษจำคุกมีกำหนด 1 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ ตาม ป.อ. มาตรา 29, 30

ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอื่น ในคดีดังกล่าวยังไม่มีคำพิพากษา จึงยกคำขอในส่วนนี้

พันเอก สมพร โตภาพ ตำแหน่ง รองผู้บังคับการกรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๔) กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็น ราชองครักษ์ในพระองค์

พันเอก ปกาสิต อุไรวรรณ์ ตำแหน่ง ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็น ราชองครักษ์ในพระองค์

รองโฆษก ตร. แนะวิธีป้องกันภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง

เตือนภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ล่าสุด ระบาดหนัก อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง หลอกโอนเงิน รองโฆษกตร. เตือนอย่าหลงเชื่อพร้อมแนะวิธีป้องกัน

จากกรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์จากธนาคาร หรือ แสดงตนเป็นข้าราชการระดับสูง หรือ นายตำรวจระดับสูง โทรศัพท์หาผู้เสียหาย อ้างว่า บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือบัญชีธนาคารของผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด โดยข่มขู่ว่าหากไม่โอนเงินมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ จะถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินและความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุก ทำให้ผู้เสียหายบางคนตกใจหลงเชื่อและพยายามแสดงความบริสุทธิ์ โดยโอนเงินให้กับคนร้าย จากนั้นก็ไม่สามารถติดต่อกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ได้ ทำให้ได้รับความเสียหาย

เรื่องนี้ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องให้เจ้าของบัญชีธนาคารโอนเงินมาให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบ ซึ่งหากเป็นบัญชีธนาคารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายทำการตรวจสอบข้อมูลกับธนาคารหรืออายัดเงินในบัญชีธนาคารดังกล่าว

ขณะเดียวกัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังได้ขอประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนว่า หากได้รับโทรศัพท์แอบอ้างในลักษณะดังกล่าว ควรปฏิบัติดังนี้

1.ตั้งสติ อย่าตกใจ และอย่าหลงเชื่อ

2.สอบถามเรื่องที่เกิดขึ้นให้แน่ชัด และสำรวจว่าตนเองมีความเกี่ยวพันกับเรื่องที่คนร้ายโทรมาหลอกลวงหรือไม่

3.อย่าดำเนินการใด ๆ โดยแจ้งว่าจะติดต่อกลับในภายหลัง และรีบวางสายสนทนา

4.ตรวจสอบข้อมูลกับแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ธนาคารหรือหน่วยงานที่ถูกแอบอ้าง โดยติดต่อไปยังเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานนั้นๆ

หากมีผู้ใดโทรมาสอบถามข้อมูลส่วนตัว ให้คิดไว้เสมอว่าอาจจะเป็นพวกมิจฉาชีพ และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวใดๆ อย่างเด็ดขาด

หากพี่น้องประชาชนพบว่า มีบุคคลอ้างว่าเป็นธนาคาร หรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ขอให้ท่านโอนเงินไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ กรุณาแจ้งเบาะแสไปยังสายด่วน 191 หรือ สายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป